วันนี้ (22 พ.ค. 63) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์ บาคาร่าออนไลน์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ตอบคำถามสื่อมวลชนผ่านโซเชียลมีเดียช่วงการแถลงข่าวของศูนย์ข่าวโควิด-19 และสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
โฆษก ศบค. กล่าวถึงเรื่องของการปรับลดช่วงเวลาเคอร์ฟิว
โดยได้มีการหารือกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ถึงการปรับลดเวลาดังกล่าวในมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 ว่า มีโอกาสที่ ศบค. จะลดช่วงเวลาเคอร์ฟิวลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนส่วนใหญ่ หากไม่มีการชุมนุมหรือมั่วสุมในทางที่ไม่ดี ออกนอกเคหสถานไปเพื่อการค้า การขนส่ง จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมต่อ ซึ่งข้อสรุปว่าจะเป็นเวลาใด อย่างไร ต้องรอเข้าประชุม ศบค. ในครั้งต่อไป
โฆษก ศบค. กล่าวถึงกิจการหรือกิจกรรมที่จะได้รับการผ่อนปรนในระยะที่ 3 ว่าในการประชุม ศบค. วันนี้ ไม่ได้มีการกล่าวถึง ยังคงใช้หลักการเดิมอยู่ โดยใช้เกณฑ์เรื่องของความเสี่ยงด้านสาธารณสุขเป็นหลัก การพิจารณากิจการหรือกิจกรรมที่จะได้รับการผ่อนคลายในระยะที่ 3 มีความสำคัญจำเป็น ต้องไปช่วยกันคิดในแต่ละประเด็นให้ถี่ถ้วน ตอนนี้จึงยังไม่สามารถบอกได้
โฆษก ศบค. ยังได้กล่าวถึงกรณีหากมีการผ่อนปรนสถานบันเทิงในระยะที่ 4 โดยแนะนำให้ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินกิจการโดยใช้มาตรการหลักทั้ง 5 ข้อ เช่นเดียวกันกับระยะอื่น ๆ นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถกำหนดมาตรการเสริมต่าง ๆ ที่เป็นนวัตกรรมที่มีความเหมาะสม และเชื่อมโยงกับกิจการดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ที่จะเข้าใช้บริการในอนาคต โดยสามารถศึกษาได้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขที่จะออกมาในรูปแบบของคู่มืออย่างเคร่งครัดด้วย
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เผยรอบการจ่ายเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า การจ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยาง จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ซึ่งขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และมีชื่อในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร (ตัดยอด วันที่ 30 เม.ย.63) โดย ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินแล้วตั้งแต่วันที่ 15, 18 – 20 พ.ค. 63 ชาวสวนยางกลุ่มที่ 2 เฉพาะกลุ่มที่มีชื่อขึ้นทะเบียนกับ กยท. (ตัดยอด วันที่ 30 เม.ย.63) จะจ่ายเงินในวันที่ 22-25 พ.ค.63 และชาวสวนยางกลุ่มที่ 3 ซึ่งแจ้งปรับปรุงข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับ กยท. ระหว่าง 1-15 พ.ค. ที่ผ่านมา จะจ่ายเงินในช่วงวันที่ 30 – 31 พ.ค. 63 แต่จากนั้นหากยังไม่ได้รับสิทธิ์ฯ สามารถแจ้งขออุทธรณ์การเยียวยาได้
ศบค. ย้ำ ขยาย พ.ร.ก. ฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงด้านสาธารณสุข
วันนี้ (22 พฤษภาคม 2563) เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) นายกรัฐมนตรีขอบคุณน้ำใจจากคนไทยที่บริจาคสิ่งของช่วยเหลือกัน พร้อมขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันอย่างดีปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกัน และควบคุมโรค รวมทั้งการใช้มาตรการทางสังคมในการร่วมกันสอดส่องดูแล การปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ จนทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมายืนในอันดับต้นๆ ของประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ขอชื่นชมการดำเนินการบริหารสถานการณ์ของศูนย์โควิด-19 ทั้งการป้องกัน ควบคุม และการสร้างการรับรู้แก่ประชาชน จนทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้ เป็นที่น่ายินดีด้วยว่าการดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศของไทยได้รับการยอมรับและชื่นชม จนมีหลายประเทศประสงค์จะรับแรงงานไทยเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงการขยายความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน เช่น สินค้าเกษตร จึงขอให้ทุกหน่วยงานเตรียมแผนงานเพื่อรองรับไว้ด้วย
สถานการณ์การแพร่ระบาด กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาพรวมตัวเลขการติดเชื้อในประเทศต่างๆ ทั่วโลก กลุ่มประเทศในเอเชียยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยประเทศที่น่าจับตาดูสถานการณ์ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน และประเทศในอาเซียน ประเทศอื่นๆ ที่ยังมีตัวเลขน่าเป็นห่วงได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซีย บราซิล ชิลี ซึ่งตัวเลขยังสูงต่อเนื่อง หลายประเทศพบการระบาดใหม่ภายหลังอนุญาตให้มีมาตรการผ่อนปรน เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ส่วนในไทยยังควบคุมได้ดี ตัวเลขเป็นเลขตัวเดียว และวันนี้ ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ในส่วนของการพัฒนาวัคซีนไทยพัฒนาครบทั้ง 6 เทคโนโลยี และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับการพัฒนาวัคซีนของโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยมีโอกาสใช้วัคซีนในช่วงเวลาต้นๆ เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ในโลกที่ผลิตได้ รวมทั้งไทยมีความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations : CEPI) และสถาบันวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Institute : IVI ) นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำถึงประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนของไทย ว่าจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เรื่องกระบวนการผลิต จนถึงการนำไปใช้งานว่าประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ หลายขั้นตอน ต้องผ่านการทดลองที่จะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ส่วนวัคซีนจากต่างประเทศหากประเทศใดผลิตได้ และด้วยความสัมพันธ์ที่มีจะทำให้ไทยได้รับวัคซีนเป็นประเทศต้นๆ บาคาร่าออนไลน์